Podchaser Logo
Home
เราเป็น'คนรัก'ในรูปแบบไหน?

เราเป็น'คนรัก'ในรูปแบบไหน?

Released Saturday, 13th January 2024
Good episode? Give it some love!
เราเป็น'คนรัก'ในรูปแบบไหน?

เราเป็น'คนรัก'ในรูปแบบไหน?

เราเป็น'คนรัก'ในรูปแบบไหน?

เราเป็น'คนรัก'ในรูปแบบไหน?

Saturday, 13th January 2024
Good episode? Give it some love!
Rate Episode

นักจิตวิทยาพยายามแบ่งประเภทรูปแบบความผูกพันในวัยผู้ใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง และในปี 1990 Bartholomew ได้พัฒนาโครงสร้างรูปแบบความผูกพันในผู้ใหญ่ที่แบ่งออกเป็นมิติ 2 ดังนี้

มิติความวิตกกังวล หมายถึง ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและความรู้สึกว่าตนเองคู่ควรแก่การยอมรับหรือปฏิเสธจากผู้อื่น มิตินี้จะสะท้อนว่าบุคคลมีความรู้สึกทางบวกหรือทางลบต่อตนเอง (model of self)

มิติหลีกเลี่ยง หมายถึง ระดับที่บุคคลจะเข้าถึงหรือหลีกเลี่ยงความใกล้ชิดและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มิตินี้สะท้อนความรู้สึกทางบวกหรือทางลบที่มีต่อผู้อื่น (model of others) มองว่าผู้อื่นน่าไว้ใจหรือไม่น่าไว้วางใจ อยู่เคียงข้าง ห่างเหิน เอาใจใส่หรือละทิ้ง

จากโมเดล 2 มิตินี้สามารถสร้างรูปแบบความผูกพันได้ 4 รูปแบบดังต่อไปนี้

รูปแบบความผูกพันแบบมั่นคง (Secure) เป็นรูปแบบที่มองตนเองและมองผู้อื่นในทางบวก บุคคลจะรู้สึกสบายใจเมื่อมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เห็นคุณค่าในตนเองและให้ความสำคัญกับการเป็นตัวของตัวเอง เต็มใจพึ่งพาและรับการสนับสนุนจากผู้อื่นรูปแบบความผูกพันแบบหมกมุ่น (Preoccupied) เป็นรูปแบบที่มองตนเองทางลบ และมองผู้อื่นทางบวก บุคคลจะมีความรู้สึกลึกๆ ว่าตนเองไม่มีคุณค่า จึงต้องการที่จะยืนยันคุณค่าของตนเองด้วยการพยายามอย่างมากที่จะมีความสัมพันธ์ใกล้ขิดกับผู้อื่น และหากผู้อื่นไม่เข้าใกล้หรือใกล้ชิดเพียงพอ บุคคลจะมีความเศร้าและหดหูอย่างมากรูปแบบความผูกพันแบบหมางเมิน (Dismissing) เป็นรูปแบบที่มองตนเองทางบวก และมองผู้อื่นทางลบ บุคคลจะปฏิเสธและหลีกเลี่ยงที่จะใกล้ชิดกับผู้อื่น เพราะคาดหวังเกี่ยวกับผู้อื่นในทางลบ จนคิดว่าความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้บุคคลยังให้คุณค่ากับตนเองด้วยการปฏิเสธว่าบุคคลอื่นมีคุณค่ากับตนและให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระอย่างมากรูปแบบความผูกพันแบบหวาดกลัว (Fearful) เป็นรูปแบบที่มองตนเองและผู้อื่นทางลบ บุคคลจะประเมินค่าของตนเองจากการตอบสนองและลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตนและผู้อื่นว่าผู้อื่นทำดีกับตนหรือไม่ แต่ในขณะเดียวกันบุคคลกลับหวาดกลัวที่จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เพราะกลัวว่าจะได้รับความเจ็บปวดจากความสัมพันธ์หรือการถูกเพิกเฉยไม่ใส่ใจจากผู้อื่นเนื่องจากมองผู้อื่นในแง่ลบ

Show More

Unlock more with Podchaser Pro

  • Audience Insights
  • Contact Information
  • Demographics
  • Charts
  • Sponsor History
  • and More!
Pro Features