Podchaser Logo
Home
คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกราชสำนักสยาม 2 แผ่นดิน : SNC Library Podcast S4 Eps. 136

คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกราชสำนักสยาม 2 แผ่นดิน : SNC Library Podcast S4 Eps. 136

Released Saturday, 7th January 2023
Good episode? Give it some love!
คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกราชสำนักสยาม 2 แผ่นดิน : SNC Library Podcast S4 Eps. 136

คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกราชสำนักสยาม 2 แผ่นดิน : SNC Library Podcast S4 Eps. 136

คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกราชสำนักสยาม 2 แผ่นดิน : SNC Library Podcast S4 Eps. 136

คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกราชสำนักสยาม 2 แผ่นดิน : SNC Library Podcast S4 Eps. 136

Saturday, 7th January 2023
Good episode? Give it some love!
Rate Episode

คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกชาวเยอรมัน เข้ามารับราชการในราชสำนักสยามถึง 2 แผ่นดิน และแม้เขาจะอยู่ในเมืองไทยเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 7 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2449 – 2556 ในช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จนถึงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เขาก็ได้ฝากผลงานสถาปัตยกรรมที่สำคัญไว้ให้กับแผ่นดินสยามหลายแห่ง อาทิ ร่วมงานก่อสร้างสถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟบางกอกน้อย (ธนบุรี) พิษณุโลก พิจิตร และอุตรดิตถ์ ซึ่งอาคารเหล่านี้มีความโดดเด่นเป็นพิเศษตรงรูปแบบที่ผิดแปลกไปจากอาคารอื่น ๆ ในประเทศไทยสมัยนั้น เช่น สถานีรถไฟบางกอกน้อย (ธนบุรี) สร้างในรูปแบบของศิลปะเอ็กซ์เพรสซันนิสต์ที่เน้นการใช้อิฐ ขณะที่สถานีรถไฟพิษณุโลก ที่มีลักษณะคล้ายบ้านไม้ทางตอนใต้ของเยอรมนี ที่เรียกว่า Fachwerkhaus ซึ่งเป็นบ้านที่มีลักษณะเด่นคือ ใช้ไม้ขนาดใหญ่เป็นโครงค้ำยันส่วนของผนังบ้าน นอกจากการสร้างอาคารสถานีรถไฟต่าง ๆ แล้ว ยังมีผลงานการสร้างอาคารอื่น ๆ โดยเฉพาะวังที่สำคัญและสวยงาม อาทิ พระรามราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน) ซึ่งเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูฝนของรัชกาลที่ 5 วังวรดิศ ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ วังของพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ปัจจุบัน คือ ที่ทำการการไฟฟ้านครหลวง สามเสน และพระตำหนักสมเด็จฯ ในบริเวณวังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นพระตำหนักของพระนางสุขุมาลมารศรี เป็นต้น ผลงานซึ่งคาร์ล เดอห์ริง ฝากไว้ในแผ่นดินสยาม ไม่เฉพาะเพียงผลงานด้านสถาปัตยกรรมเท่านั้น เขายังเป็นนักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักโบราณคดี ที่อุทิศตนให้กับงานด้านศิลปะ วัฒนธรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลป์ของสยามอีกด้วย ประจักษ์พยานสำคัญ ในด้านนี้คือหนังสือ เรื่อง “ศิลปะและหัตถศิลป์ในสยาม” ซึ่งคณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2565 พร้อมจัดทำเป็นอิเล็กทรอนิคส์ไฟล์ หนังสือเล่มนี้มีบริบททางประวัติศาสตร์ มีความสำคัญ และน่าสนใจ เชิญท่านที่สนใจติดตามการเผยแพร่ต่อไปค่ะ

---

Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message

Show More

Unlock more with Podchaser Pro

  • Audience Insights
  • Contact Information
  • Demographics
  • Charts
  • Sponsor History
  • and More!
Pro Features