Podchaser Logo
Home
Ep.2 ทำไมถึงลาออกจาก Facebook

Ep.2 ทำไมถึงลาออกจาก Facebook

Released Wednesday, 17th June 2020
Good episode? Give it some love!
Ep.2 ทำไมถึงลาออกจาก Facebook

Ep.2 ทำไมถึงลาออกจาก Facebook

Ep.2 ทำไมถึงลาออกจาก Facebook

Ep.2 ทำไมถึงลาออกจาก Facebook

Wednesday, 17th June 2020
Good episode? Give it some love!
Rate Episode
คำถามหนึ่งที่ผมได้รับบ่อยๆ ในฐานะอดีตพนักงานคนที่สองของเฟสบุ๊ค ไทยแลนด์
ผมชวนเพื่อนอีก 2 ท่าน คือ คุณกานต์ อดีตพนักงาน Solution Manager สาย E-Commerce และ คุณโน้ต อดีต Client Partner จาก Facebook ที่สิงคโปร์ มาร่วมพูดคุยกัน เพื่อให้คุณได้มองเห็นความหลากหลายของ Career Path ของเฟสบุ๊ค

เฟสบุ๊คเป็นบริษัทในฝันของใครหลายๆ คน ทำไมถึงตัดสินใจลาออก?

สำหรับเอก ลึกๆ ก่อนที่จะเข้าเฟสบุ๊ค อยากจะทำอะไรเป็นของตัวเองอยู่แล้ว พอได้เข้าไปอยู่ในเฟสบุ๊ค ไทยแลนด์ระยะหนึ่ง เรารู้สึกว่าเราได้เรียนรู้ในสิ่งที่เราต้องการแล้ว ซึ่งตอนนั้นที่สมัครเข้าไปในบริษัทเฟสบุ๊ค เพราะต้องการจะเข้าใจการทำงานของซิลิคอน วัลเลย์ วางตัวเองไว้ 2 ปีสำหรับการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เรียนรู้วัฒนธรรมสตาร์ทอัพ โดยที่มีคนจ่ายเงินเดือนให้ 2 ปี พอได้จังหวะก็เลยลาออกมาทำของตัวเอง อีกอย่าง ช่วงที่ลาออก อายุประมาณ 32 ย่าง 33 คิดว่าถ้าไม่ออกมาทำของตัวเอง ผ่านช่วงเวลานี้ไปก็คงไม่กล้าออกมาแล้ว เพราะเรามีความรับผิดชอบมากขึ้น มีพ่อแม่ แต่งงาน ตอนนั้นคงจะยากแล้วที่จะออกมาทำอะไรเป็นของตัวเอง สำหรับกานต์ ต้องลาออกมาเพื่อมาช่วยที่บ้าน และอยากออกมาทำโปรเจกต์ของตัวเอง ตอนทำงานในเฟสบุ๊คสนุกมาก การลาออกเลยเป็นเรื่องยากสำหรับเรา เพราะเพื่อนร่วมงานดี งานก็ชอบ สำหรับโน้ต ซับซ้อนมาก จริงๆ ไม่ได้คิดจะออกมาเร็วขนาดนี้ เพราะความตั้งใจคือเวลาทำงานก็อยากจะอยู่ที่เดิมยาวๆ 5 ปี 10 ปี แต่ประมาณ 2 ปีที่ออกมา คิดว่ามันเป็น Stage of Life ช่วงที่ทำงานเฟสบุ๊ค เราได้เห็นอะไรรู้อะไรจนรู้สึกว่าตัวเองไปได้ไกลกว่านี้ ถ้าได้ไปทำในฝั่งของลูกค้าแทนที่จะเป็นเอเจนซี่ ก็อาจจะไปได้เร็วขึ้น ผ่านไปอีกบทนึงของชีวิตที่น่าจะสนุกกว่าและน่าทำมากกว่า มาหัดเป็นลูกค้ามือใหม่ แล้วเราต้องไปอยู่สิงคโปร์ คนอาจจะมองว่าได้ไปต่างประเทศดีนะ แต่เราก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่บ้านเรา เราพลาดโอกาสที่จะได้เจอเพื่อนๆ ที่เรียนด้วยกันมา สังคมที่เคยอยู่ นั่นทำให้เรารู้สึกว่ามันถึงเวลาอันควรแล้วที่จะย้ายกลับมาที่ประเทศไทย โน้ตเองก็ตัดสินใจยาก เพราะถ้าจะออกจากเฟสบุ๊คก็คิดไม่ออกว่าจะไปไหนต่อ เราก็ไปศึกษาว่าอดีตพนักงานเฟสบุ๊คเมื่อออกจากเฟสบุ๊คแล้วไปไหนกัน ก็มีกลับไปเป็นเฮดเอเจนซี่ ไปเป็นสตาร์ทอัพ ไปเป็นลูกค้า เป็นต้น ส่วนใหญ่ก็ประมาณนี้ทั้งนั้น

เรียนรู้อะไรบ้างจากการทำงานในเฟสบุ๊ค?

สำหรับโน้ต ข้อดีคือความสนุก เพราะโดยทั่วไปในบริษัท จะมีพนักงานบางคนที่เป็นสตาร์มากๆ แบกทุกคนในทีม ดังนั้น ข้อดีของเฟสบุ๊คคือนำคนที่เป็นสตาร์ของหลายๆ บริษัทมาอยู่ด้วยกัน ในความรู้สึกเหมือนทุกคนถูกคัดมาแล้ว ความสนุกของสตาร์ที่ทำงานด้วยกันคือมันไม่ต้องกังวลอะไร มีความเชื่อใจกัน คุณภาพงานก็ดีทุกคน ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นทำให้งานมันไปได้ไวมาก ส่วนข้อไม่ดี การที่เป็นสตาร์ทุกคน ทุกคนจะรู้สึกกดดันนิดนึง เพราะไม่มีใครอยากโชว์โง่ เพราะเรารู้สึกว่าทุกคนเป็นสตาร์ แรกๆ ที่เข้ามาไม่กล้าทำอะไร พอผ่าน 3 เดือนแรกมาได้ก็โอเค ถ้าย้อนกลับไปได้จะไม่รู้สึกแบบนั้นตั้งแต่แรก เพราะแต่ละคนก็มีจุดแข็งที่ต่างกัน ซึ่งอะไรที่ดูยากมากสำหรับเรา มันง่ายมากสำหรับคนอื่นเลย แล้วอะไรที่มันยากของคนอื่น มันอาจจะง่ายสำหรับเรา นี่เลยถือเป็นการเรียนรู้ของเรา จริงๆ เหมือนเอกเลยตรงที่ปีแรก เหมือนเป็นปีแห่งการดูถูกตัวเอง เราจะรู้สึกว่าเราไม่เก่ง จนต้องมีคนมาบอกว่าผลงานเราดีพอแล้ว ไปพรีเซนต์ได้แล้ว เราถึงมีความมั่นใจมากขึ้นในการบุกเบิกของใหม่ หลังจากปีหนึ่งมาก็เริ่มที่จะไปเปิดธุรกิจใหม่ เช่น ธุรกิจรถยนต์ เปิด Financial Service ก็ใช้เวลานิดนึงในการเข้าใจตัวเองว่าเราไม่ได้แย่ขนาดนั้น พอออกมาแล้วได้คุยกับอดีตพนักงานเฟสบุ๊คด้วยกัน ทำให้เห็นว่าจริงๆ แล้ว ทุกคนก็คือคนธรรมดาคนนึงที่มีความสามารถสูง อย่าคิดดูถูกตัวเอง สำหรับกานต์ วัฒนธรรมนึงที่ชอบมาก บริษัทอื่นๆ มักจะแคร์ Input มากกว่า Output แต่บริษัทเฟสบุ๊ค คุณจะ Input น้อยขนาดไหนก็ได้ แค่ Output คุณได้ตามที่ต้องการก็โอเค คือไม่ต้องทำงานทั้งวัน 9 ชั่วโมงก็ได้ ถ้าทำเสร็จภายใน 4 ชั่วโมง ก็เอา 5 ชั่วโมงที่เหลือไปทำอย่างอื่นได้ นี่คือสิ่งที่ชอบและอยากนำไปใช้กับบริษัทตัวเอง คือ Result-Oriented แต่ไม่ใช่ว่ามันสวยหรูขนาดว่าทำไม่กี่ชั่วโมงแล้วกลับบ้าน เพราะบางครั้งงานจะยังไม่เสร็จ อาจจะต้องทำอย่างอื่นต่อ คือมีทั้งข้อดีข้อเสีย งานเสร็จก็กลับได้ แต่ถ้างานไม่เสร็จก็ห้ามกลับ ดังนั้นมันจะมีทั้งช่วงชิวกับช่วงที่อยู่แก้งานให้เสร็จ อีกข้อนึงที่ชอบ เราควรจะเน้นเอาจุดแข็งของเรามาทำงาน แล้วดันตรงนั้นมาขยายใหญ่ขึ้น จุดอ่อนก็ไม่ต้องกังวล นั่นทำให้คนในทีมมีความกดดันน้อยลง มีความชัดเจนมากขึ้น เวลาเขารับเราเข้ามา เขาก็ไม่ได้โฟกัสที่จุดด้อยเรามากนัก แค่จุดด้อยนั้นมันไม่ได้เป็นมีผลกับงานที่เราก็พอ ข้อเสียนอกจากนี้นึกไม่ออกแล้ว นั่นเป็นเหตุผลว่าเฟสบุ๊คติดใน 10 อันดับบริษัทที่น่าทำงานด้วยทุกปี เขามีการสำรวจตลอดว่าบริษัทควรปรับปรุงอะไรบ้าง เขาก็จะพยายามปรับทุกอย่างให้มันโอเคขึ้นสำหรับแต่ละคน

สิ่งที่ได้จากเฟสบุ๊คแล้วนำมาใช้กับการทำงานที่อื่นได้?

ความยืดหยุ่นในการทำงาน และความเข้าใจว่าคนๆ หนึ่งไม่ได้พัฒนาชั่วข้ามคืน ทุกอย่างในชีวิตมันหลอมให้เราเป็นตัวตนขึ้นมา ดังนั้นสิ่งที่เราเรียนรู้จากเฟสบุ๊คหรือที่อื่นก่อนหน้ามันสร้างให้เราเป็นเรา

คิดว่าการตัดสินใจเข้าไปทำงานในเฟสบุ๊ค เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องหรือไม่ และเสียใจหรือไม่ที่ออกมา?

ความยืดหยุ่นในการทำงาน และความเข้าใจว่าคนๆ หนึ่งไม่ได้พัฒนาชั่วข้ามคืน ทุกอย่างในชีวิตมันหลอมให้เราเป็นตัวตนขึ้นมา ดังนั้นสิ่งที่เราเรียนรู้จากเฟสบุ๊คหรือที่อื่นก่อนหน้ามันสร้างให้เราเป็นเรา คิดว่าการตัดสินใจเข้าไปทำงานในเฟสบุ๊ค เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องหรือไม่ และเสียใจหรือไม่ที่ออกมา สำหรับกานต์ มันดีนะ ได้ประสบการณ์ ส่วนโน้ต เฟสบุ๊คเป็นบริษัทที่ดีนะ แค่ด้วยความที่เฟสบุ๊คเป็นบริษัทที่มี Gen Y เป็นส่วนใหญ่ ผู้ใหญ่ทั่วไปมักมองว่าเด็กสมัยนี้ไม่อดทน แต่ส่วนตัวคิดว่ามันเป็นเหตุผลในชีวิตของแต่ละคนที่จะออกมา ดังนั้นถ้าให้ย้อนเวลากลับไป ก็ยังจะสมัครเข้าไปทำงานในเฟสบุ๊ค และคิดว่ามันเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีที่สุดของชีวิต ขอสรุปว่าไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจเข้าหรือออกจากที่ไหนก็ตาม มันไม่ได้หมายความว่าที่นั่นดีที่สุดในโลก มันควรจะต้องอยู่ไปจนวันตาย หลายๆ คนอาจจะมองว่า ได้เข้าไปอยู่ในบริษัทชั้นนำแบบนี้ แต่มันอาจจะไม่ได้เหมาะกับเราในสถานการณ์ปัจจุบัน หรือมันอาจจะมีความท้าทายใหม่ๆ รออยู่ข้างหน้า หรือแม้แต่ภารกิจที่กานต์บอกว่าออกไปช่วยงานครอบครัว สำหรับเรามองว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่เสียใจนะ ได้เข้าไปก็ตัดสินใจถูกครั้งหนึ่งในชีวิต และออกมาก็ตัดสินใจถูกครั้งหนึ่งในชีวิต เพราะถ้าไม่ออกมาก็ไม่รู้จะออกมาทำอะไรของตัวเองตอนไหนแล้ว มันอยู่ที่ว่าชีวิตเราในช่วงๆ นั้นต้องการอะไร อย่าไปจำกัดว่าเราได้ทำงานในบริษัทที่ดีที่สุดแล้ว ต้องยึดติดกับมัน ขอให้เลือกตัวเลือกที่ใช่สำหรับตัวเอง และตรงกับเป้าหมายส่วนตัวของเรา สำหรับโน้ตมองว่าทุกอย่างมันดีที่สุดเสมอที่เราเลือกมา ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกที่แย่ที่สุดก็ตาม แต่ตอนนั้นมันดีที่สุดเสมอเพราะเขาเลือกวิธีนั้น ทีนี้เลยกลายเป็นว่ามันไม่มีบริษัทที่ดีที่สุด ณ ทุกช่วงเวลา มีแค่บริษัทที่ตอบโจทย์คนๆ หนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง สำหรับบางคนอาจจะมีแพชชั่นในชีวิต หรือมีความฝัน เป้าหมาย ที่อาจจะไม่ใช่พนักงาน แล้วแต่คนชอบจริงๆ สำหรับโน้ตวันที่ออกมารู้สึกเสียใจ เพราะบริษัทเฟสบุ๊คสำหรับเราไม่ใช่แค่ Company แต่เป็น Family การได้ทำงานในบริษัทเฟสบุ๊คถือเป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิต และมันดีเสมอ เราเสียใจแต่เราไม่เสียดาย

สามารถฟังพอดแคสต์ Marketing I Can
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลยimage YoutubeSpotifyPodcast

FOLLOW US

FacebookInstagramYoutubeLine
Show More
Rate

Join Podchaser to...

  • Rate podcasts and episodes
  • Follow podcasts and creators
  • Create podcast and episode lists
  • & much more

Episode Tags

Do you host or manage this podcast?
Claim and edit this page to your liking.
,

Unlock more with Podchaser Pro

  • Audience Insights
  • Contact Information
  • Demographics
  • Charts
  • Sponsor History
  • and More!
Pro Features